2438
ศาสตราจารย์ คอนราดฟอนเรินตเกน แห่งมหาวิทยาลัย วุซเบิร์กประเทศเยอรมัน พบรังสีเอ็กซ์
2441
นายแพทย์อาดัมเซ็น (พระบำบัดสรรพโรค) ได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์เครื่องแรกเข้ามาในประเทศไทย ในกองลหุโทษ
2446
นายแพทย์ติลิกี (พระยาวิรัชเวชกิจ) ได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องที่2 มาจากประเทศอังกฤษ
2455
เปิด “วชิรพยาบาล” พระยาวิรัชเวชกิจได้นำเครื่องเอ็กซเรย์ของท่านมาใช้ที่โรงพยาบาลแห่งนี้เป็นที่แห่งแรก
2457
โรงพยาบาลทหารเรือ ได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์มาใช้ในประเทศไทย โดย นาวาโท นายแพทย์เบอร์เมอร์ เป็นผู้ใช้เครื่อง โรงพยาบาลสภากาชาดไทย ได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์เข้ามาใช้ในประเทศไทยโดย นายแพทย์ฟรีดริก เชเฟอร์ ผู้อำนวยการท่านแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลสภากาชาดไทย และทรงให้ถ่ายเอ็กซเรย์ทรวงอกของพระองค์เป็นปฐมฤกษ์
2458
โรงพยาบาลกลางได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์เข้ามาใช้ในประเทศไทยต่อมาโรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์และเนิสซิงโฮมซึ่งเป็นสถานพยาบาลเอกชนก็ได้สั่งเครื่องเอ็กซเรย์เข้ามาตามลำดับ นายแพทย์เอช แคมพ์เบลล์ ไฮเอต ผู้อำนวยการท่านที่สองของโรงพยาบาลกลาง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นผู้สั่งเครื่องเอกซเรย์เครื่องที่ 5 ของไทย
2471
เปิดเอกซเรย์ตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช นายแพทย์ พิณ เมืองแมน(หลวงพิณพากย์พิทยาเภท) เป็น หัวหน้าแผนก ”เอกซเรย์วิทยา” เริ่มต้นศักราชรังสีวิทยาสมัยปัจจุบันในประเทศไทย
ภาพเอกเรย์เครื่องแรกในโรงพยาบาลศิริราช
2472
เครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกของแมคคอร์มิค หรือเครื่องที่ 9 ของไทย
2475
โรงพยาบาลจังหวัดภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลต่างจังหวัด ของกรมสาธารณสุขมีเครื่องเอ็กซเรย์เป็นแห่งแรก นายแพทย์ หลวงสนั่นวรเดชเป็นผู้นำไปใช้
2478
เครื่องเอ็กซเรย์โวลท์เทจสูง 230 กิโลโวลท์ เครื่องแรก ที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซื้อด้วยเงินพระราชทานจากพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จำนวน 16,000 บาท เปิดศักราชของการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี เครื่องรังสีรักษามะเร็ง เครื่องแรกของประเทศไทย ที่โรงพยาบาลศิริราช จากพระกรุณาของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
2481
คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล ได้สั่งซื้อแร่ราเดียมเข้ามาใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นแห่งแรกจำนวน 330 มก. และได้ทำการรักษามะเร็งปากมดลูกในปีนั้น
2483
แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ เริ่มปฎิบัติงานรังสีวิทยาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
2498
เปิดหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อมาเปลี่ยนเป็น สาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
2500
เครื่องรักษามะเร็งโคบอลต์60 ราคา 1 ล้านบาท ที่ได้รับบริจาคจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ใช้เป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลศิริราช
2504
ตั้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งประเทศไทย พลอากาศจัตวา สวัสดิ์ ศรีสุข เป็นเลขาธิการมี พรบ. พลังงานปรมณูเพื่อสันติ เพื่อควบคุมการใช้รังสีและสารกัมมันตภาพรังสี เปิดแผนกรังสีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายแพทย์ ดุษฎี ประภาสะวัต เป็นหัวหน้าแผนก
2506
ตั้งรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์หลวงพิณพากย์ภาคพิทยาเภท เป็นนายกฯ
2508
เปิดแผนกรังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์ทวี บุญโชติ เป็นหัวหน้าแผนกตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิคแห่งแรก ที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ หลักสูตร4ปี (ขั้นปริญญา) โดยนายแพทย์ สุพจน์ อ่างแก้ว เป็นผู้อำนวยการรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ส่งคณะรังสีแพทย์ ผู้แทนของประเทศไทยไปร่วมประชุมรังสีวิทยานานาชาติ ครั้งที่11 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
2512
เปิดโรงเรียนรังสีเทคนิค ที่คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตร2ปี (ขั้นประกาศนียบัตร) นายแพทย์กุณฑล สุนทรเวช เป็นผู้อำนวยการ
2514
เปิดหน่วยฟิสิกส์การแพทย์ ที่บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมมือกับสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และเปิดโรงเรียนฟิสิกส์การแพทย์ ที่คณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในเวลา นายแพทย์ กวี ทังสุบุตร เป็นผู้อำนวยการ
2517
เครื่องอัลตร้าซาวด์ทางการเเพทย์เครื่องเเรกของประเทศไทย ที่ ภาควิชาสูตินรีเวช รพ.จุฬา
2528
จัดตั้งสมาคมรังสีรักษาแห่งประเทศไทย
2531
เครื่องตรวจอวัยวะด้วยสนามเเม่เหล็กMRI เครื่องแรกในประเทศไทย เป็นชนิด Permanent magnet 0.2 tesla ติดตั้ง ที่ศูนย์เอกซเรย์พญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
2538
จัดตั้ง ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ แห่งประเทศไทย
2548
เครื่อง PET/CT scan เครื่องเเรกในประเทศไทย เป็นของบริษัทPhilips และมีเครื่อง cyclotronติดตั้งที่ รพ.กรุงเทพ ซอยศูนย์วิจัย